เกร็ดความรู้
5 กันยายน 2564
ซื้อรถมือสอง ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง
การตัดสินใจซื้อรถมือสองสักคัน นอกจากเลือกรถคันที่ถูกใจและถูกเงินแล้ว ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอีกหลายส่วนที่ต้องเตรียมให้พร้อมด้วย เพราะการซื้อขายรถยนต์มือสองไม่ได้จ่ายแค่ค่าตัวรถแล้วจบ นอกจากนี้ การซื้อรถด้วยเงินสด และการซื้อผ่านไฟแนนซ์ก็ยังมีความแตกต่างกันด้วยเช่นกัน
ซื้อรถมือสองด้วยเงินสดต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. ค่าโอนกรรมสิทธิ์
เป็นเรื่องปกติของการซื้อรถมือสอง เมื่อการซื้อขายสำเร็จย่อมต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของรถคนเดิมไปยังเจ้าของคนใหม่ด้วย ซึ่งกระบวนการนี้เองที่เราต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ 100 บาท, ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ทุก 100,000 บาทของราคาประเมินรถ นอกจากนี้ หากต้องการเปลี่ยนเล่มทะเบียนรถใหม่กรณีที่ขาดหรือชำรุด ก็จะมีค่าใช้จ่ายอีก 100 บาทด้วย
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ราคารถมือสองอาจไม่ใช่ราคาสุทธิ เพราะยังไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ดังนั้นอย่าลืมเตรียมเงินเผื่อเอาไว้ในส่วนของ Vat 7% นี้ด้วย เช่น รถราคา 200,000 บาท เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (14,000 บาท) จะทำให้ มูลค่าจริงที่ต้องจ่ายสำหรับการซื้อรถมือสองคันนี้อยู่ที่ 214,000 บาท เป็นต้น
3. ค่าภาษีรถยนต์ / พ.รบ.รถยนต์ / ประกันภัย
นอกจากค่าโอนกรรมสิทธิ์และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว อย่าลืมเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเหล่านี้ด้วย ทั้งค่าภาษีรถยนต์ประจำปี, พ.รบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, ประกันภัยรถยนต์ หากหมดอายุก็จำเป็นต้องจัดการให้เรียบร้อยเสียก่อน
ซื้อรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. ค่าจองรถ
เมื่อตัดสินใจซื้อรถมือสองกับไฟแนนซ์ หลังจากเลือกรถที่ต้องการได้แล้วในระหว่างนี้อาจต้องใช้เวลาตรวจสอบเครดิตการเงินของผู้ซื้อ 3-5 วันทำการ ซึ่งไฟแนนซ์บางแห่งอาจต้องวางเงินจองเพื่อรักษาสิทธิ์ในการซื้อรถคันที่ต้องการไว้ด้วย ซึ่งเป็นการรับประกันว่าทางไฟแนนซ์จะไม่ขายรถมือสองคันนั้นให้คนอื่นระหว่างที่กำลังตรวจสอบเครดิตการเงินของคุณอยู่ ซึ่งเงินจองส่วนนี้อาจอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท
2. เงินดาวน์
ส่วนใหญ่แล้วเงินดาวน์สำหรับรถมือสองไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลสักเท่าไหร่ เพราะหากมีเครดิตการเงินที่ดีโอกาสขอสินเชื่อได้วงเงินสูงก็มากขึ้นตามไปด้วย แต่หากเป็นรถหรูที่มีมูลค่าสูง ทางไฟแนนซ์อาจขอให้จ่ายเงินดาวน์อย่างน้อย 10% จากมูลค่าของรถคันที่ต้องการซื้อ
3. ค่าจัดไฟแนนซ์-ค่าโอนรถ
ในการซื้อรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ต้องสอบถามค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ และค่าโอนรถให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะบางไฟแนนซ์ที่มีโปรโมชั่นอาจไม่คิดค่าดำเนินการในส่วนนี้ หรือคิดในราคาที่ถูกลง แต่หากไม่มีการระบุไว้ก็อาจต้องจ่ายค่าจัดไฟแนนซ์แพงกว่าที่คิด ส่วนค่าโอนกรรมสิทธิ์จะต้องจ่ายอากรแสตมป์ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดไว้ นั่นคือ 500 บาท ทุก 100,000 บาทของราคาประเมินรถ และกรรมสิทธิ์รถจะตกเป็นของเราก็ต่อเมื่อผ่อนชำระค่างวดกับไฟแนนซ์ครบสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
4. ค่าประกันภัยรถยนต์
ปกติแล้วการซื้อรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ต้องทำประกันภัยรถยนต์ในปีแรกของการผ่อนชำระ ซึ่งหากรถมือสองคันที่ต้องการซื้อมีอายุประกันในสัญญาไม่ถึง 6 เดือน ก็จะต้องทำประกันใหม่ด้วยเช่นกัน
5. ดอกเบี้ยจากสินเชื่อและภาษีมูลคค่าเพิ่ม
แน่นอนว่าการออกรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ย่อมต้องมีดอกเบี้ยที่ตามมาในการผ่อนชำระค่างวดทุกเดือนอยู่แล้ว ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มจะรวมอยู่ในค่างวดแต่ละงวดไว้แล้ว หากต้องการให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลดน้อยลง ก็ควรเลือกระยะเวลาผ่อนที่ไม่นานจนเกินไป
การซื้อรถมือสองในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ จะช่วยทำให้เป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากสนใจรถมือสองที่ได้มาตรฐานจากทางโตโยต้า ไม่ต้องกลัวเรื่องรถโดนย้อมแมวขาย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.toyotasure.com/home/Home.aspx หรือถ้ากำลังมองหาสินเชื่อรถใช้แล้วที่ได้ทั้งวงเงินสินเชื่อสูงสุด 90%และระยะเวลาผ่อนช าระสูงสุดถึง 72 งวด กดอ่านได้เลยที่ https://www.tlt.co.th/product/used_car
ข่าวแนะนำ
© 2018 สงวนสิทธิ์โดย บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด